วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

การทำหนังสือ ในเว็บ ISSUU.com


นำเสนอหนังสือ Font Display
                        "Bean Sprouts"                         



สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ http://issuu.com/chalineesaichana/docs/artd2304-chalinee-issuu

ที่มา นางสาวชาลินี  สายชนะ

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

แปลสรุปบทความเรื่องตัวพิมพ์ Type Design

บทนำ
ฟอนต์หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า ตัวอักษรเป็นหนึ่งในงานศิลปะที่มีมานาน  ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นมาตั้งแต่ยุคอิยิปต์โบราณ ตัวอักษรกอธิก คือ ตัวอักษรแรกในยุคการเริ่มใช้ตัวอักษรในการสื่อสารในด้านต่างๆวิวัฒนาการการปรับปรุงตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ของกลุ่มคนผู้คิดค้นรูปแบบตัวอักษรในยุคโบราณ อักษรที่ถูกสร้างขึ้นแรกๆคือ อักษรจากลายมือ อักษรจากรูปทรงเรขาคณิต อักษรจากลวดลายของกระเบื้องโมเสค  จากลายเส้นในงานศิลปะ จากแปรงทาสี ทุกอย่างล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของตัวอักษรทั้งหมด  ฟอนต์หรือตัวอักษรมีไว้ใช้เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่งที่นอกเหนือจากการพูด เป็นส่วนหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร หรือบอกข่าว ฉะนั้นฟอนต์หรือตัวอักษรจึงได้รับการออกแบบและปรับปรุงอยู่เสมอและจัดทำออกมามากขึ้นเรื่อยๆในยุคปัจจุบันนี้ เพราะในแต่ละส่วนงานหรือบางโอกาสเราอาจใช้รูปแบบของตัวอักษรที่แตกต่างกันออกไป
ตัวพิมพ์อักษร
ตัวอักษรคือรูปแบบการสื่อสารชนิดหนึ่ง ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เป็นการสื่อสารที่สามารถจัดเก็บแล้วนำมาอ่านหรือทำความเข้าใจใหม่ได้อีกหลายๆครั้ง เนื่องจากเป็นรูปธรรม ซึ่งรูปแบบของตัวอักษรจะแตกต่างกันออกไป มีหลายรูปแบบ หลายภาษา หลายตระกูล แต่ถ้าให้อธิบายรูปแบบของตัวอักษรที่ชัดเจนและนำมาใช้ในปัจจุบันมากที่สุดก็คือ ตัวอักษรในตระกูลโรมัน ที่มีชื่อว่า เฮลเวติก้า (Helvetica) จัดอยู่ในกลุ่ม อักษร Sans Serif  ตัวอักษรนี้นอกจากจะสวยงาม อ่านง่ายและนิยมใช้มากที่สุดในโลกแล้ว ยังได้รับให้เป็นตัวอักษรที่ดีที่สุดในศตวรรตที่ 20 เพราะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นตัวพิมพ์ตัวอักษรที่สะท้อนถึง จิตวิญญาณแห่งยุคสมัยอีกด้วย ตัวพิมพ์ก็เหมือนคำพูดและความรู้สึกเพราะต้องกลั่นออกมาจากจิตใจจึงออกมาเป็นตัวอักษรในรูปแบบหรืออารมณ์ในตอนนั้นๆที่เราต้องการ ไม่แปลกที่มีการออกแบบรูปแบบตัวอักษรในตอนนี้และนำออกมาขายให้เราได้ใช้กันมากขึ้น
ความเป็นมาและความหมายของตัวอักษร
ตัวอักษรถูกประดิษฐ์และคิดค้นจากลายมือและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ เมื่อมนุษย์รู้จักสื่อสารและส่งข่าว การพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละโอกาสและตัวบุคคลที่เราต้องการจะติดต่อสื่อสาร ตัวอักษรหรือฟอนต์ใช้ได้ทั้งการเขียนและการพิมพ์ ต่างกันตรงว่าการพิมพ์จะได้ตัวอักษรชนิดเดียวกันถ้าใช้รูปแบบของตระกูลเดียวกันแต่ฟอนต์ที่ใช้มือเขียนจะแตกต่างออกไปเพราะลายมือของแต่ละคนไม่เหมือนกันก็จะได้เสน่ห์ไปอีกแบบเป็นฟอนต์ลายมือของเราเอง ในยุคและสมัยของระบบสากลมีการพัฒนาตัวอักษรขึ้นใช้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ใช้ในงานตีพิมพ์วรสาร หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ งานโฆษณา และอีกมากมายที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ยุคสมัยของการประดิษฐ์ตัวอักษร

มาดูวิวัฒานาการการออกแบบและปรับปรุงตัวอักษรในยุคแรกๆจนถึงปัจจุบันที่มีความสวยงามมากขึ้นเรื่อยๆโดยได้มาจากไอเดียมนุษย์เหล่านี้ เรื่องราวและแรงบรรดาลใจประวัติการทำงานที่น่าตื่นเต้นของบุคคลเหล่านี้ที่นำมาให้ได้ศึกษาในรายงานเล่มนี้ นี่เป็นส่วนหนึ่งที่คัดมาให้ได้อ่านกันค่ะ

1.วิลเลียม  มอร์ริส (William  Morris)  เกิดเมื่อวันที่ 24  มีนาคม 1834   เป็นศิลปินและนักปรัชญา เป็นที่รู้จักในนามผู้คิดค้น 3 อักษร คือ โกลเด้น Trop และชอเซอร์ อักษรสีทองเหล่านี้มอร์ริสได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบชื่อของตน ซึ่งนิโคลัสเจนสัน คือบุคคลที่นำลายเส้นเพื่อสร้างอักษร Morris letterforms  อักษรมอร์ริสถูกสร้างขึ้นมากในอังกฤษและขยายวงกว้างไปยังอเมริกาในปี 1880 จนถึงปี 1910  นำมาใช้ในงานเขียน งานโปสเตอร์ ของศิลปิน 2 ท่าน มีชื่อว่า ชาร์ลส์โรเบิร์ตและชาร์ลส์ฟรานซิส



        2. เอ็ดเวิร์ด   จอห์นสัน (Edward  Jonston) เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1872 ในซานโฮเซ ประเทศอุรุกวัย เขาเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับการออกแบบตัวพิมพ์จอห์นสัน ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วทั้งระบบรถไฟใต้ดินของลอนดอน จนกระทั่งปี 1980 เขาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของ calligraphy ที่ทันสมัย เขาใช้ปากกาขอบกว้างเป็นเครื่องมือในการเขียนของเขา หนึ่งของสิ่งพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดของจอห์นสันเป็นคู่มือการเขียนลายมือที่มีชื่อว่า ตัวอักษรการเขียนได้รับการตีพิมพ์ในปี 1906  ซึ่งในหนังสือเขาได้กล่าวไว้ว่า การใช้งานที่สำคัญที่สุดของตัวอักษรที่อยู่ในการทำหนังสือคือรากฐานของ Typography” 


     3.สแตนลี่ย์  มอริสัน  (Stanley  Morrison)   เกิดในปี 1889 ประเทศอังกฤษ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดใน typogaphy ที่ทันสมัยของอังกฤษ แต่น่าแปลกที่สแตนลี่ย์  มอริสันไม่ได้ออกแบบอักษรชนิดตัวเอง ในปี 1928 Monotype และ สแตนลี่ย์  มอริสันได้ปล่อยตัวอักษรตีพิมพ์ เช่น Rockwell,Gll Sans,Perpetua,Albertus  และที่รู้จักกันดีคือ  Times New Roman   นอกจากนี้เขายังได้การสนับสนุนให้ฟื้นฟูอักษรสำหรับอัครสังฆราช, บาสเกอร์วิ และอื่นๆอีกมากมาย

            วิวัฒนาการการทำงานของ สแตนลี่ย์  มอริสัน
          ปี 1918 เขาเป็นที่ปรึกษาด้าน typography  ของบริษัท  Press  Companies.
          ปี 1922 เขาได้เป็นผู้ดูแลการออกแบบ ที่ Pelican 
          ปี 1923 รับแต่งตั้งเป็นบรรณาธิการนิตยสาร ที่บริษัท Monotype
          ปี 1925  มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์รับการแต่งตั้งเป็น adviser.
          ปี 1932 ได้รับหมอบหมายให้ไปเป็นที่ปรึกษาการพิมพ์ในกรุงลอนดอนเป็นเวลา 3 ปี
          ปี 1960 ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการผ่านการเลือกตั้งเป็นนักออกแบบรอยัลอุตสาหกรรม

     4.เฮอร์เบรส  ไบเออร์  (Herbert  Bayer)  เกิดในปี 1900 ในออสเตรียเริ่มต้นของเขาในการออกแบบเริ่มในช่วงการฝึกการทำงานของเขา ในการออกแบบแพคเกจที่เขายังได้เรียนรู้การออกแบบกระเบื้องโมเสค interlars และกราฟิกสไตล์ ศิลปะต่างๆ เขาเป็นคนที่ไม่พอใจกับงานแบบ 'ผิวเผิน' ของความงามและการตกแต่ง เขาเริ่มมองหาสิ่งใหม่ในนวัตกรรมเช่นการกำจัดของตัวอักษรการเปลี่ยนอักษรกอธิคโบราณโดยให้ทันสมัย ตัวอักษรและแนวคิดขององค์ประกอบขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเรขาคณิตที่แข็งแกร่งและสี  ไบเออร์ได้รับหน้าที่ในการออกแบบตัวอักษรสำหรับทุกสื่อสาร Bauhaus comunication อักษรชื่อ Universal ซึ่งเป็นตัวอักษร sansserif เรขาคณิตที่เรียบง่าย


5.พอลล์  เลนเนอร์  (Paul  Renner)  เกิดในปี 1878 ในประเทศเยอรมนี เขาเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักออกแบบของ Futura อักษรนี้เป็นหลักเนื่องจากการพิมพ์ในรูปแบบที่ก้าวล้ำสมัยยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน Futura เป็นทรงเรขาคณิตแบบเส้น Renner เริ่มเป็นนักออกแบบและผู้เขียนหนังสือและทำงานภายใต้สำนักพิมพ์ต่าง ๆเขามีส่วนร่วมความเชื่อเดียวกันของการออกแบบเป็น Bauhaus, Renner ไม่ได้เป็นส่วน



รูปแบบตัวอักษร
อักษรทุกแบบมีบุคลิกของตัวมันเอง แบบจริงจัง ทางการ สนุกสนาน สูงสง่าหรือต่ำต้อย เราสามารถฝึกตัวเองจากการสังเกตรูปแบบต่างๆของตัวอักษร พิจารณาจากโครงสร้าง สี น้ำหนัก ความสูง ถ้าสังเกตจากความสูงแต่ไม่รวมหางของตัวอักษร ตัวอักษรแตกต่างกันตรงส่วนไหนบ้าง หนาบางเท่ากันหรือป่าว ลองพิจารณาทีละส่วน สังเกตช่องว่างภายในตัวอักษร เส้นบรรทัด การเลือกใช้ตัวอักษรในแต่ละครั้งจะสะท้อนบุคลิกและความเป็นตัวตนของบเราได้ตรงมากที่สุด ซึ่งตัวอักษรที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ตัวอักษรแบบ  Sans Serif เป็นตัวที่เขียนหรืออ่านได้ง่ายไม่เป็นทางการมาก ต่างจากตัวอักษรแบบ Serif  ซึ่งเราจะมีรายละเอียดว่าตัวอักษร 2 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง



ตัวอักษรแบบ Serif หรือที่เรียกว่าตัวอักษรมี เชิง”  ใช้กับข้อความที่มีความต่อเนื่องและยาวเกิน 1 บรรทัด อักษรประเภทนี้จะมีฐานเล็กๆ นำตัวอักษรหนึ่งไปยังอีกตัวอักษรหนึ่งเพื่อให้ดูต่อเนื่องกัน ในกรณีที่ใช้ตัวอักษรค่อนข้างเล็ก ฐานของมันจะช่วยประคองสายตาให้อยู่ในบรรทัดเดิม อักษรแบบนี้มักมีเส้นหนักเส้นเบาต่างกัน เพื่อช่วยให้สายตาระบุอักษรได้อย่างรวดเร็ว
ตัวอักษรแบบ Sans Serif  หรือที่เรียกว่าตัวอักษรแบบ ไม่มีเชิงคำว่า Sans แปลว่า ไม่มี ดังนั้นถ้า Serif  คือตัวอักษรแบบมีฐาน ดังนั้น Sans Serif ก็คือ ไม่มีฐาน แบบตัวอักษรประเภทนี้มักมีตัวใหญ่กว่าและหนากว่า แบบอักษรประเภทนี้มักใช้กับหนังสือสำหรับเด็ก เนื่องจากมีความเรียบง่ายมากกว่า แต่บางคนก็เชื่อว่าอ่านยากกว่า ดังนั้นมันจึงมักถูกใช้กับข้อความสั้นๆ เช่น การพาดหัวข่าว หัวเรื่อง และหัวข้อ



แบบตัวอักษรที่ใช้ในงานพิมพ์
รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์มีหลายรูปแบบหลายลักษณะ ทั้งเส้น สี ขนาด หนา บาง เอียง โค้ง มน เหลี่ยม แตกต่างกันออกไป มีลูกเล่นในการพิมพ์ให้น่าสนใจมากขึ้น ให้ความสะดวกสบายในการทำงานเอกสารหรืองานต่างๆที่ต้องใช้ตัวอักษรในการทำ รูปแบบหรือลูกเล่นของตัวอักษรมีผลกับความรู้สึกของตัวงานนั้นด้วย มาดูกันว่ามีรูปแบบใดบ้างที่อยู่ในการพิมพ์ของเรา


1.        ตัวเอน (Itallc) เป็นตัวพิมพ์ที่ไม่ได้ตรง แต่เอนไปทางขวา ทำให้งานออกแบบดูมีลักษณะที่ดูนุ่มนวลและแม้จะนำ   ไปพิมพ์ข้อความจำนวนมากๆก็ไม่ทำให้ยากต่อการอ่าน
2.       ตัวโย้  (Bockslant) เป็นตัวพิมพ์ที่ไม่ได้ตั้งตรงแค่เอนไปทางซ้าย ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยนิยมใช้ โดยเฉพาะกับ       การพิมพ์จำนวนมาก เพราะขัดกับธรรมชาติของการอ่าน
3.       ตัวแคบ (Condensed face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีการบีบในแนวนอน ทำให้ดูตัวอักษรแต่ละตัวมีความกว้างน้อยกว่า       ปกติ
4.       ตัวกว้าง (Extended face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีการบีบในแนวนอน ทำให้ดูตัวอักษรแต่ละตัวมีความกว้างมากกว่าปกติ
5.        ตัวเส้นหนา (Bold) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนาจะทำให้งานออกแบบดูมีน้ำหนักและความหนาแน่นมาก มักนิยมใช้   ในการพิมพ์หัวเรื่อง
6.       ตัวเส้นหนัก (Medium face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนาน้อยกว่าตัวเส้นหนา มีลักษณะและความนิยมในการนำไป     ใช้เช่นเดียวกับตัวเส้นหนา
7.       ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง (Book face) หรือตัวปกติ (Normal face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนาน้อยกว่าตัวเส้นหนักคือ มี       ขนาดเส้นปานกลางที่ทำให้ง่ายต่อการอ่าน
8.       ตัวเส้นบาง (Light) ตัวเส้นบางมาก (Extralight face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นบางกว่าตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง ทำให้งาน       ออกมาดูมีน้ำหนักเบา



แหล่งศึกษาข้อมูล
หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
-          หนังสือ Publication Design การออกแบบสิ่งพิมพ์  ผู้เขียน อารยะ  ศรีกัลยาณบุตร
-          หนังสือ Slide:ology  ผู้แต่ง แนนซี ดูอาร์ต
-          หนังสือ ดีไซน์ + คัลเจอร์ 2 ผู้เขียน ประชา  สุวีรานนท์
การเรียนรู้จากหนังสือ อิเล็กทรอนิก ISSUU.com / E-book
-          TYPE CLASSIFICATION (หนังสือออนไลน์) // http://issuu.com/paolonowhere/stacks/76a4082b54da4287a5ffc27db1816581
-          Typographic History (หนังสือออนไลน์)  // http://issuu.com/paolonowhere/stacks/76a4082b54da4287a5ffc27db1816581




แปลสรุปโดย
นางสาว ชาลินี    สายชนะ
รหัสนักศึกษา 5611301820  กลุ่มเรียน 101
รายงานวิชา ARTD2304 การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์