วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

การทำหนังสือ ในเว็บ ISSUU.com


นำเสนอหนังสือ Font Display
                        "Bean Sprouts"                         



สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ http://issuu.com/chalineesaichana/docs/artd2304-chalinee-issuu

ที่มา นางสาวชาลินี  สายชนะ

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

แปลสรุปบทความเรื่องตัวพิมพ์ Type Design

บทนำ
ฟอนต์หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า ตัวอักษรเป็นหนึ่งในงานศิลปะที่มีมานาน  ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นมาตั้งแต่ยุคอิยิปต์โบราณ ตัวอักษรกอธิก คือ ตัวอักษรแรกในยุคการเริ่มใช้ตัวอักษรในการสื่อสารในด้านต่างๆวิวัฒนาการการปรับปรุงตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ของกลุ่มคนผู้คิดค้นรูปแบบตัวอักษรในยุคโบราณ อักษรที่ถูกสร้างขึ้นแรกๆคือ อักษรจากลายมือ อักษรจากรูปทรงเรขาคณิต อักษรจากลวดลายของกระเบื้องโมเสค  จากลายเส้นในงานศิลปะ จากแปรงทาสี ทุกอย่างล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของตัวอักษรทั้งหมด  ฟอนต์หรือตัวอักษรมีไว้ใช้เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่งที่นอกเหนือจากการพูด เป็นส่วนหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร หรือบอกข่าว ฉะนั้นฟอนต์หรือตัวอักษรจึงได้รับการออกแบบและปรับปรุงอยู่เสมอและจัดทำออกมามากขึ้นเรื่อยๆในยุคปัจจุบันนี้ เพราะในแต่ละส่วนงานหรือบางโอกาสเราอาจใช้รูปแบบของตัวอักษรที่แตกต่างกันออกไป
ตัวพิมพ์อักษร
ตัวอักษรคือรูปแบบการสื่อสารชนิดหนึ่ง ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เป็นการสื่อสารที่สามารถจัดเก็บแล้วนำมาอ่านหรือทำความเข้าใจใหม่ได้อีกหลายๆครั้ง เนื่องจากเป็นรูปธรรม ซึ่งรูปแบบของตัวอักษรจะแตกต่างกันออกไป มีหลายรูปแบบ หลายภาษา หลายตระกูล แต่ถ้าให้อธิบายรูปแบบของตัวอักษรที่ชัดเจนและนำมาใช้ในปัจจุบันมากที่สุดก็คือ ตัวอักษรในตระกูลโรมัน ที่มีชื่อว่า เฮลเวติก้า (Helvetica) จัดอยู่ในกลุ่ม อักษร Sans Serif  ตัวอักษรนี้นอกจากจะสวยงาม อ่านง่ายและนิยมใช้มากที่สุดในโลกแล้ว ยังได้รับให้เป็นตัวอักษรที่ดีที่สุดในศตวรรตที่ 20 เพราะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นตัวพิมพ์ตัวอักษรที่สะท้อนถึง จิตวิญญาณแห่งยุคสมัยอีกด้วย ตัวพิมพ์ก็เหมือนคำพูดและความรู้สึกเพราะต้องกลั่นออกมาจากจิตใจจึงออกมาเป็นตัวอักษรในรูปแบบหรืออารมณ์ในตอนนั้นๆที่เราต้องการ ไม่แปลกที่มีการออกแบบรูปแบบตัวอักษรในตอนนี้และนำออกมาขายให้เราได้ใช้กันมากขึ้น
ความเป็นมาและความหมายของตัวอักษร
ตัวอักษรถูกประดิษฐ์และคิดค้นจากลายมือและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ เมื่อมนุษย์รู้จักสื่อสารและส่งข่าว การพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละโอกาสและตัวบุคคลที่เราต้องการจะติดต่อสื่อสาร ตัวอักษรหรือฟอนต์ใช้ได้ทั้งการเขียนและการพิมพ์ ต่างกันตรงว่าการพิมพ์จะได้ตัวอักษรชนิดเดียวกันถ้าใช้รูปแบบของตระกูลเดียวกันแต่ฟอนต์ที่ใช้มือเขียนจะแตกต่างออกไปเพราะลายมือของแต่ละคนไม่เหมือนกันก็จะได้เสน่ห์ไปอีกแบบเป็นฟอนต์ลายมือของเราเอง ในยุคและสมัยของระบบสากลมีการพัฒนาตัวอักษรขึ้นใช้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ใช้ในงานตีพิมพ์วรสาร หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ งานโฆษณา และอีกมากมายที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ยุคสมัยของการประดิษฐ์ตัวอักษร

มาดูวิวัฒานาการการออกแบบและปรับปรุงตัวอักษรในยุคแรกๆจนถึงปัจจุบันที่มีความสวยงามมากขึ้นเรื่อยๆโดยได้มาจากไอเดียมนุษย์เหล่านี้ เรื่องราวและแรงบรรดาลใจประวัติการทำงานที่น่าตื่นเต้นของบุคคลเหล่านี้ที่นำมาให้ได้ศึกษาในรายงานเล่มนี้ นี่เป็นส่วนหนึ่งที่คัดมาให้ได้อ่านกันค่ะ

1.วิลเลียม  มอร์ริส (William  Morris)  เกิดเมื่อวันที่ 24  มีนาคม 1834   เป็นศิลปินและนักปรัชญา เป็นที่รู้จักในนามผู้คิดค้น 3 อักษร คือ โกลเด้น Trop และชอเซอร์ อักษรสีทองเหล่านี้มอร์ริสได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบชื่อของตน ซึ่งนิโคลัสเจนสัน คือบุคคลที่นำลายเส้นเพื่อสร้างอักษร Morris letterforms  อักษรมอร์ริสถูกสร้างขึ้นมากในอังกฤษและขยายวงกว้างไปยังอเมริกาในปี 1880 จนถึงปี 1910  นำมาใช้ในงานเขียน งานโปสเตอร์ ของศิลปิน 2 ท่าน มีชื่อว่า ชาร์ลส์โรเบิร์ตและชาร์ลส์ฟรานซิส



        2. เอ็ดเวิร์ด   จอห์นสัน (Edward  Jonston) เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1872 ในซานโฮเซ ประเทศอุรุกวัย เขาเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับการออกแบบตัวพิมพ์จอห์นสัน ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วทั้งระบบรถไฟใต้ดินของลอนดอน จนกระทั่งปี 1980 เขาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของ calligraphy ที่ทันสมัย เขาใช้ปากกาขอบกว้างเป็นเครื่องมือในการเขียนของเขา หนึ่งของสิ่งพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดของจอห์นสันเป็นคู่มือการเขียนลายมือที่มีชื่อว่า ตัวอักษรการเขียนได้รับการตีพิมพ์ในปี 1906  ซึ่งในหนังสือเขาได้กล่าวไว้ว่า การใช้งานที่สำคัญที่สุดของตัวอักษรที่อยู่ในการทำหนังสือคือรากฐานของ Typography” 


     3.สแตนลี่ย์  มอริสัน  (Stanley  Morrison)   เกิดในปี 1889 ประเทศอังกฤษ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดใน typogaphy ที่ทันสมัยของอังกฤษ แต่น่าแปลกที่สแตนลี่ย์  มอริสันไม่ได้ออกแบบอักษรชนิดตัวเอง ในปี 1928 Monotype และ สแตนลี่ย์  มอริสันได้ปล่อยตัวอักษรตีพิมพ์ เช่น Rockwell,Gll Sans,Perpetua,Albertus  และที่รู้จักกันดีคือ  Times New Roman   นอกจากนี้เขายังได้การสนับสนุนให้ฟื้นฟูอักษรสำหรับอัครสังฆราช, บาสเกอร์วิ และอื่นๆอีกมากมาย

            วิวัฒนาการการทำงานของ สแตนลี่ย์  มอริสัน
          ปี 1918 เขาเป็นที่ปรึกษาด้าน typography  ของบริษัท  Press  Companies.
          ปี 1922 เขาได้เป็นผู้ดูแลการออกแบบ ที่ Pelican 
          ปี 1923 รับแต่งตั้งเป็นบรรณาธิการนิตยสาร ที่บริษัท Monotype
          ปี 1925  มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์รับการแต่งตั้งเป็น adviser.
          ปี 1932 ได้รับหมอบหมายให้ไปเป็นที่ปรึกษาการพิมพ์ในกรุงลอนดอนเป็นเวลา 3 ปี
          ปี 1960 ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการผ่านการเลือกตั้งเป็นนักออกแบบรอยัลอุตสาหกรรม

     4.เฮอร์เบรส  ไบเออร์  (Herbert  Bayer)  เกิดในปี 1900 ในออสเตรียเริ่มต้นของเขาในการออกแบบเริ่มในช่วงการฝึกการทำงานของเขา ในการออกแบบแพคเกจที่เขายังได้เรียนรู้การออกแบบกระเบื้องโมเสค interlars และกราฟิกสไตล์ ศิลปะต่างๆ เขาเป็นคนที่ไม่พอใจกับงานแบบ 'ผิวเผิน' ของความงามและการตกแต่ง เขาเริ่มมองหาสิ่งใหม่ในนวัตกรรมเช่นการกำจัดของตัวอักษรการเปลี่ยนอักษรกอธิคโบราณโดยให้ทันสมัย ตัวอักษรและแนวคิดขององค์ประกอบขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเรขาคณิตที่แข็งแกร่งและสี  ไบเออร์ได้รับหน้าที่ในการออกแบบตัวอักษรสำหรับทุกสื่อสาร Bauhaus comunication อักษรชื่อ Universal ซึ่งเป็นตัวอักษร sansserif เรขาคณิตที่เรียบง่าย


5.พอลล์  เลนเนอร์  (Paul  Renner)  เกิดในปี 1878 ในประเทศเยอรมนี เขาเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักออกแบบของ Futura อักษรนี้เป็นหลักเนื่องจากการพิมพ์ในรูปแบบที่ก้าวล้ำสมัยยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน Futura เป็นทรงเรขาคณิตแบบเส้น Renner เริ่มเป็นนักออกแบบและผู้เขียนหนังสือและทำงานภายใต้สำนักพิมพ์ต่าง ๆเขามีส่วนร่วมความเชื่อเดียวกันของการออกแบบเป็น Bauhaus, Renner ไม่ได้เป็นส่วน



รูปแบบตัวอักษร
อักษรทุกแบบมีบุคลิกของตัวมันเอง แบบจริงจัง ทางการ สนุกสนาน สูงสง่าหรือต่ำต้อย เราสามารถฝึกตัวเองจากการสังเกตรูปแบบต่างๆของตัวอักษร พิจารณาจากโครงสร้าง สี น้ำหนัก ความสูง ถ้าสังเกตจากความสูงแต่ไม่รวมหางของตัวอักษร ตัวอักษรแตกต่างกันตรงส่วนไหนบ้าง หนาบางเท่ากันหรือป่าว ลองพิจารณาทีละส่วน สังเกตช่องว่างภายในตัวอักษร เส้นบรรทัด การเลือกใช้ตัวอักษรในแต่ละครั้งจะสะท้อนบุคลิกและความเป็นตัวตนของบเราได้ตรงมากที่สุด ซึ่งตัวอักษรที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ตัวอักษรแบบ  Sans Serif เป็นตัวที่เขียนหรืออ่านได้ง่ายไม่เป็นทางการมาก ต่างจากตัวอักษรแบบ Serif  ซึ่งเราจะมีรายละเอียดว่าตัวอักษร 2 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง



ตัวอักษรแบบ Serif หรือที่เรียกว่าตัวอักษรมี เชิง”  ใช้กับข้อความที่มีความต่อเนื่องและยาวเกิน 1 บรรทัด อักษรประเภทนี้จะมีฐานเล็กๆ นำตัวอักษรหนึ่งไปยังอีกตัวอักษรหนึ่งเพื่อให้ดูต่อเนื่องกัน ในกรณีที่ใช้ตัวอักษรค่อนข้างเล็ก ฐานของมันจะช่วยประคองสายตาให้อยู่ในบรรทัดเดิม อักษรแบบนี้มักมีเส้นหนักเส้นเบาต่างกัน เพื่อช่วยให้สายตาระบุอักษรได้อย่างรวดเร็ว
ตัวอักษรแบบ Sans Serif  หรือที่เรียกว่าตัวอักษรแบบ ไม่มีเชิงคำว่า Sans แปลว่า ไม่มี ดังนั้นถ้า Serif  คือตัวอักษรแบบมีฐาน ดังนั้น Sans Serif ก็คือ ไม่มีฐาน แบบตัวอักษรประเภทนี้มักมีตัวใหญ่กว่าและหนากว่า แบบอักษรประเภทนี้มักใช้กับหนังสือสำหรับเด็ก เนื่องจากมีความเรียบง่ายมากกว่า แต่บางคนก็เชื่อว่าอ่านยากกว่า ดังนั้นมันจึงมักถูกใช้กับข้อความสั้นๆ เช่น การพาดหัวข่าว หัวเรื่อง และหัวข้อ



แบบตัวอักษรที่ใช้ในงานพิมพ์
รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์มีหลายรูปแบบหลายลักษณะ ทั้งเส้น สี ขนาด หนา บาง เอียง โค้ง มน เหลี่ยม แตกต่างกันออกไป มีลูกเล่นในการพิมพ์ให้น่าสนใจมากขึ้น ให้ความสะดวกสบายในการทำงานเอกสารหรืองานต่างๆที่ต้องใช้ตัวอักษรในการทำ รูปแบบหรือลูกเล่นของตัวอักษรมีผลกับความรู้สึกของตัวงานนั้นด้วย มาดูกันว่ามีรูปแบบใดบ้างที่อยู่ในการพิมพ์ของเรา


1.        ตัวเอน (Itallc) เป็นตัวพิมพ์ที่ไม่ได้ตรง แต่เอนไปทางขวา ทำให้งานออกแบบดูมีลักษณะที่ดูนุ่มนวลและแม้จะนำ   ไปพิมพ์ข้อความจำนวนมากๆก็ไม่ทำให้ยากต่อการอ่าน
2.       ตัวโย้  (Bockslant) เป็นตัวพิมพ์ที่ไม่ได้ตั้งตรงแค่เอนไปทางซ้าย ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยนิยมใช้ โดยเฉพาะกับ       การพิมพ์จำนวนมาก เพราะขัดกับธรรมชาติของการอ่าน
3.       ตัวแคบ (Condensed face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีการบีบในแนวนอน ทำให้ดูตัวอักษรแต่ละตัวมีความกว้างน้อยกว่า       ปกติ
4.       ตัวกว้าง (Extended face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีการบีบในแนวนอน ทำให้ดูตัวอักษรแต่ละตัวมีความกว้างมากกว่าปกติ
5.        ตัวเส้นหนา (Bold) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนาจะทำให้งานออกแบบดูมีน้ำหนักและความหนาแน่นมาก มักนิยมใช้   ในการพิมพ์หัวเรื่อง
6.       ตัวเส้นหนัก (Medium face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนาน้อยกว่าตัวเส้นหนา มีลักษณะและความนิยมในการนำไป     ใช้เช่นเดียวกับตัวเส้นหนา
7.       ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง (Book face) หรือตัวปกติ (Normal face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนาน้อยกว่าตัวเส้นหนักคือ มี       ขนาดเส้นปานกลางที่ทำให้ง่ายต่อการอ่าน
8.       ตัวเส้นบาง (Light) ตัวเส้นบางมาก (Extralight face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นบางกว่าตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง ทำให้งาน       ออกมาดูมีน้ำหนักเบา



แหล่งศึกษาข้อมูล
หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
-          หนังสือ Publication Design การออกแบบสิ่งพิมพ์  ผู้เขียน อารยะ  ศรีกัลยาณบุตร
-          หนังสือ Slide:ology  ผู้แต่ง แนนซี ดูอาร์ต
-          หนังสือ ดีไซน์ + คัลเจอร์ 2 ผู้เขียน ประชา  สุวีรานนท์
การเรียนรู้จากหนังสือ อิเล็กทรอนิก ISSUU.com / E-book
-          TYPE CLASSIFICATION (หนังสือออนไลน์) // http://issuu.com/paolonowhere/stacks/76a4082b54da4287a5ffc27db1816581
-          Typographic History (หนังสือออนไลน์)  // http://issuu.com/paolonowhere/stacks/76a4082b54da4287a5ffc27db1816581




แปลสรุปโดย
นางสาว ชาลินี    สายชนะ
รหัสนักศึกษา 5611301820  กลุ่มเรียน 101
รายงานวิชา ARTD2304 การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์




วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการดาวน์โหลด Font

การดาวน์โหลด Font Chandrakasam

1 หน้าเว็บ.png

หน้าโฮมเพจ ของเว็บ  http://www.chandrakasem.info/?page_id=60

2.png

แบบตัวอย่างฟ้อนต์ในเว็บไซด์ http://www.chandrakasem.info/?page_id=60

22.png

สัญญาการอนุญาติใช้และเงื่อนไข การใช้งานฟ้อนต์ในตระกูลซีอาร์ยู  56
สามารถดาวน์โหลดไว้ดูได้ที่ http://www.chandrakasem.info/?page_id=60

3.png



ขั้นตอนการดาวน์โหลด

4.png

ไฟล์ดาวโหลดน์ Font CRU

6.png

หน้าต่างการดาวน์โหลดไฟล์  Font
5.png

เสร็จสิ้นการดาวน์โหลดไฟล์ Font

7.png

ไฟล์ที่ดาวโหลดมาเตรียม Zip เพื่อนำลงเครื่อง

8.png

ไฟล์ที่ Zip แล้ว พร้อมติดตั้งลงเครื่อง

9.png

ติดตั้งลงเครื่องเป็นอันเสร็จสิ้นค่ะ


น.ส.ชาลินี  สายชนะ  5611301820  สาขาวิชาศิลปกรรม  ออกแบบนิเทศน์ศิลป์ปี 2

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 2 (13 มกราคม 2558)

สรุปผลการศึกษาครั้งที่ 2 (13 มกราคม 2558)

      เริ่มต้นเรื่องวันนี้โดยการตรวจบล็อกของแต่ละคนก่อน และแนะนำเพิ่มเติมเรื่องการแต่งบล็อกในหน้าสนใจ การจัดวางรูปในบล็อกปรับขนาด Display ให้ได้ 575 ตกแต่งเพิ่มเติมบล็อกให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ใส่จำนวนผู้เข้าชม ลูกเล่นต่างๆ หรือจะนำลิ้งค์เว็บของอาจารย์มาใส่ด้วยก็ได้
เรื่องถัดมาคือ รหัส Unicode (Thai Characters Unicode) เป็นรหัสของอักขระ เพราะตัวอักษรทุกตัวจะมีเลขกำกับอยู่ จะต้องท่องจำรหัสของแต่ละตัวอักษรให้ได้ เพราะทุกตัวจะไม่เหมือนกัน
นี่คือรหัสของแต่ละตัวอักษร

Thai Characters Unicode
35850E01THAI CHARACTER KO KAI
35860E02THAI CHARACTER KHO KHAI
35870E03THAI CHARACTER KHO KHUAT
35880E04THAI CHARACTER KHO KHWAI
35890E05THAI CHARACTER KHO KHON
35900E06THAI CHARACTER KHO RAKHANG
35910E07THAI CHARACTER NGO NGU
35920E08THAI CHARACTER CHO CHAN
35930E09THAI CHARACTER CHO CHING
35940E0ATHAI CHARACTER CHO CHANG
35950E0BTHAI CHARACTER SO SO
35960E0CTHAI CHARACTER CHO CHOE
35970E0DTHAI CHARACTER YO YING
35980E0ETHAI CHARACTER DO CHADA
35990E0FTHAI CHARACTER TO PATAK
36000E10THAI CHARACTER THO THAN
36010E11THAI CHARACTER THO NANGMONTHO
36020E12THAI CHARACTER THO PHUTHAO
36030E13THAI CHARACTER NO NEN
36040E14THAI CHARACTER DO DEK
36050E15THAI CHARACTER TO TAO
36060E16THAI CHARACTER THO THUNG
36070E17THAI CHARACTER THO THAHAN
36080E18THAI CHARACTER THO THONG
36090E19THAI CHARACTER NO NU
36100E1ATHAI CHARACTER BO BAIMAI
36110E1BTHAI CHARACTER PO PLA
36120E1CTHAI CHARACTER PHO PHUNG
36130E1DTHAI CHARACTER FO FA
36140E1ETHAI CHARACTER PHO PHAN
36150E1FTHAI CHARACTER FO FAN
36160E20THAI CHARACTER PHO SAMPHAO
36170E21THAI CHARACTER MO MA
36180E22THAI CHARACTER YO YAK
36190E23THAI CHARACTER RO RUA
36200E24THAI CHARACTER RU
36210E25THAI CHARACTER LO LING
36220E26THAI CHARACTER LU
36230E27THAI CHARACTER WO WAEN
36240E28THAI CHARACTER SO SALA
36250E29THAI CHARACTER SO RUSI
36260E2ATHAI CHARACTER SO SUA
36270E2BTHAI CHARACTER HO HIP
36280E2CTHAI CHARACTER LO CHULA
36290E2DTHAI CHARACTER O ANG
36300E2ETHAI CHARACTER HO NOKHUK
36310E2FTHAI CHARACTER PAIYANNOI
36320E30THAI CHARACTER SARA A
กั3633กั0E31THAI CHARACTER MAI HAN-AKAT (combined with ko kai (ก))
36340E32THAI CHARACTER SARA AA
36350E33THAI CHARACTER SARA AM
กิ3636กิ0E34THAI CHARACTER SARA I (combined with ko kai (ก))
กี3637กี0E35THAI CHARACTER SARA II (combined with ko kai (ก))
กึ3638กึ0E36THAI CHARACTER SARA UE (combined with ko kai (ก))
กื3639กื0E37THAI CHARACTER SARA UEE (combined with ko kai (ก))
กุ3640กุ0E38THAI CHARACTER SARA U (combined with ko kai (ก))
กู3641กู0E39THAI CHARACTER SARA UU (combined with ko kai (ก))
กฺ3642กฺ0E3ATHAI CHARACTER PHINTHU (combined with ko kai (ก))
฿3647฿0E3FTHAI CURRENCY SYMBOL BAHT
36480E40THAI CHARACTER SARA E
36490E41THAI CHARACTER SARA AE
36500E42THAI CHARACTER SARA O
36510E43THAI CHARACTER SARA AI MAIMUAN
36520E44THAI CHARACTER SARA AI MAIMALAI
36530E45THAI CHARACTER LAKKHANGYAO
36540E46THAI CHARACTER MAIYAMOK
ก็3655ก็0E47THAI CHARACTER MAITAIKHU (combined with ko kai (ก))
ก่3656ก่0E48THAI CHARACTER MAI EK (combined with ko kai (ก))
ก้3657ก้0E49THAI CHARACTER MAI THO (combined with ko kai (ก))
ก๊3658ก๊0E4ATHAI CHARACTER MAI TRI (combined with ko kai (ก))
ก๋3659ก๋0E4BTHAI CHARACTER MAI CHATTAWA (combined with ko kai (ก))
ก์3660ก์0E4CTHAI CHARACTER THANTHAKHAT (combined with ko kai (ก))
กํ3661กํ0E4DTHAI CHARACTER NIKHAHIT (combined with ko kai (ก))
ก๎3662ก๎0E4ETHAI CHARACTER YAMAKKAN (combined with ko kai (ก))
36630E4FTHAI CHARACTER FONGMAN
36640E50THAI DIGIT ZERO
36650E51THAI DIGIT ONE
36660E52THAI DIGIT TWO
36670E53THAI DIGIT THREE
36680E54THAI DIGIT FOUR
36690E55THAI DIGIT FIVE
36700E56THAI DIGIT SIX
36710E57THAI DIGIT SEVEN
36720E58THAI DIGIT EIGHT
36730E59THAI DIGIT NINE
36740E5ATHAI CHARACTER ANGKHANKHU
36750E5BTHAI CHARACTER KHOMUT


และต่อกันด้วยเรื่องการจัดเก็บไฟล์งานใน Google Drive เราสามารถสร้าง Folder เก็บงานของเราเองได้ ไม่จำเป็นต้องนำไปโพสในในบล็อก 
โปรแกรมที่เราจะเรียนในเทอมนี้คือ Font lab 5.0  ถ้าเราทำเสร้จพร้อมส่งจะต้องผ่านเครื่องของอาจารย์ที่มีลายเซ็นกำกับ ให้ติดตั้งลงเครื่องของตัวเอง และอีกหนึ่งโปรแกรมคือ Hidoric Font Creator เราสามารถหาโปรแกรม Font lab ได้ที่ font lab.com 

อาจารย์ที่ฟ้อนต์ที่ให้ทดลองใช้ของค่าย DB มีชุดทดสอบ MN มีมากกว่า 5 ภาษา 6 หมื่นกว่าคลิป 
ที่อาจารย์ใช้ทำคือ font forge ให้ดาวน์โหลดมาลองใช้ดูเป็นโอเพ้นซอทใช้ฟรี สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Serch - font application 

อีกเว็บคือ fontstruct.com เป็นแหล่งรวม font สามารถลองไปสมัครเมมเบอร์ เพื่อลองใช้งานดูได้ เนื่องจากเป็นเว็บทำ font แบบออนไลน์ ในเว็บจะมีแกลอรี่ สามารถดาวน์โหลดมาดูเป็นตัวอย่างได้ ในเว็บนี้จะมี font ของอาจารย์อยู่ serch - CRU ก็จะขึ้น สามารถดาวน์โหลด font free มาดูเป็นตัวอย่างได้แต่ห้าม Copy  Thaifont.info เป็นเว็บไซด์ของอาจารย์ ในหน้าเว็บอาจารย์จะลงเว็บไซด์ของ font ต่างๆไว้ให้เราดูที่นั่นหมดแล้ว

เว็บที่แจก font free
 - www.thaifont.c0m
 - www.font2u.com

*การบ้าน
- ดาวน์โหลด font CRU font ฟรี พร้อมติดตั้งลงเครื่อง หรือใส่ Flashdrive มา สามารถเข้าไปโหลดได้ที่ Chandrakasem.info ดาวน์โหลดมาทั้งหมด ไปอ่านสัญญาและกฏข้อต่างๆในการใช้ font มาด้วย พร้อมจัดทำเป็นรายงานขั้นตอนการดาวน์โหลดมาด้วยใช้ font ขนาดไม่เกิน 16 ให้ใช้ font ในตระกูล CRU
- scan ใบงานที่เขียนด้วยลายมือ scan 300 dpi. ขาว-ดำ save ไฟล์เป็น .jpg
- งานที่ต้องส่งมี folder ใน Google Drive - artd2304-101-57
- งานกลุ่มที่จะทำ Gift on the moon จัดเรื่องทำงาน

Pretest 
สอบในห้องเรียน
- สร้าง font ชื่อจริงของตัวเอง เป็นภาษาไทย 
- ขนาดความสูง 3 cm. (ไม่รวมวรรณยุกต์)
- ออกแบบด้วยโปรแกรม illustrator *โดยกำกับว่าต้องแสดงเส้น guide line ทั้งแนวตั้ง-แนวนอน-เส้นเฉียง
- จัดส่งใน Google drive 
การ save งานส่ง 
- save ในขนาดเอกสาร A4 พิมพ์ชื่อตัวเอง รหัสนักศึกษา ไว้มุมขวาด้านล่างของงานให้เรียบร้อย
- save 2 ไฟล์ (1) ไฟล์ Ai. ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ขึ้นหน้าด้วย Pretest-chalinee
                      (2) ไฟล์ .jpg ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ให้ save รวม page document มาด้วย

งานแก้ Pretest ส่งใน Google drive 
- ออกแบบชื่อ Font ในแบบของตัวเอง ชื่อจริง - นามสกุล save ส่ง 2 ไฟล์ Ai. และ .jpg